Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/classifi44/domains/classified4all.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: คำสั่ง _load_textdomain_just_in_time นั้นถูกเรียก อย่างไม่ถูกต้อง Translation loading for the newsblogger domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม! (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/classifi44/domains/classified4all.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
เเพ้อาหารจะดูเเลตนเองอย่างไร - มีสาระดี
Loading Now

เเพ้อาหารจะดูเเลตนเองอย่างไร

ในชีวิตประจำวันบางคนเคยประสบกับภาวะแพ้อาหาร บางคนอาจมีญาติผู้ใกล้ชิดประสบกับปัญหานี้ อาการแพ้อาหารมีมากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบภูมิต้านทานของแต่ละบุคคล ส่วนประกอบและคุณสมบัติของอาหาร และ ปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป เมื่อแพ้อาหารจะมีอาการอย่างไร เมื่อท่านแพ้อาหารอาจทำให้มีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด   และอาการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ

ดังรายละเอียดที่จะพูดต่อไป ดังนี้

  1. อาการเฉียบพลัน  หรืออาการที่เกิดขึ้นทันทีทันใด อาการแพ้อาหารแบบ เฉียบพลันจะปรากฏภายหลังรับประทานอาหาร 2 – 3 นาทีถึง 1 ชั่วโมง อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้เฉียบพลันที่พบส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเล เมื่อรับประทานเข้าไปจะเกิดอาการคันในลำคอ – ปาก – จมูกและตา ปากบวม ลิ้นบวม หนังตาบวม ลมพิษพุพองทั่วตัว บางคนอาจมีคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียในรายที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง จะทำให้มีการบวมของทางเดินหายใจ กล่องเสียงและหลอดลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ตัวเล็บมือเล็บเท้าเขียว หมดสติช็อค เป็นต้น เมื่อพบผู้มีอาการแพ้อาหารในระยะเฉียบพลันจะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที  เพราะถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอาจจะทำให้สูญเสียชีวิตได้
  2. อาการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เป็นอาการที่เกิดขึ้นภายหลังรับประทานอาหารเข้าไปนานเกินกว่า 1 – 24 ชั่วโมง อาการที่พบ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง ลมพิษ – พุพองตามผิวหนัง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หงุดหงิด บางคนนอนหลับมากกว่าปกติ ซึ่งอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างช้าๆ ได้แก่ นม ไข่ ข้าวสาลี เป็นต้นตัวอย่าง “การแพ้ผงชูรส” ผู้ที่แพ้ผงชูรสมักจะปรากฏอาการแพ้หลังกินผงชูรสเข้าไป 1-14 ชั่วโมง ซึ่งอาการแพ้ผงชูรส ได้แก่ ชาบริเวณลิ้น ปาก ร้อนวูบวาบบริเวณใบหน้า ผิวหนัง คลื่นไล้อาเจียน หน้าแดง ปวดท้อง กระหายนํ้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และบางคนอาจมีอาการเจ็บหน้าอก เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอาการที่เกิดจากการแพ้อาหารจะมีอาการแตกต่างกันไป ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจกับอาการที่เกิดขึ้นจากการแพ้อาหารแต่ละชนิด และวิธีการให้การช่วยเหลือผู้แพ้อาหารอย่างเหมาะสม

เมื่อท่านพบผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อาหารท่านจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร ประการที่ 1 ต้องทราบว่ารับประทานอาหารอะไรเข้าไป แพ้อาหารอะไรปริมาณอาหารและระยะเวลาที่รับประทานอาหารเข้าไป

ประการที่ 2 พยายามทำให้ปริมาณพิษของอาหารลดน้อยลงโดยใช้นิ้วมือ ล้วงเข้าในลำคอ เพื่อให้อาเจียนออก ในรายที่ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ดื่มนํ้า มากๆ เพราะนํ้าช่วยขับพิษออกทางปัสสาวะ

ประการที่ 3 ถ้ามีอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่ค่อยออกต้องรีบนำส่ง โรงพยาบาลทันที

เพื่อป้องกันการแพ้อาหารที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ ดังนั้นผู้ที่เคยแพ้อาหารจึงควรรู้จักในการดูแลตนเองดังนี้

  1. พึงระลึกเสมอว่าตนเองแพ้อาหารชนิดใด พร้อมหลีกเลี่ยงการรับประทาน อาหารชนิดนั้นๆ
  2. สังเกตลักษณะอาการแพ้ที่ปรากฏขึ้นว่ามีอะไรบ้าง เช่น ผื่นขึ้นตาม ผิวหนัง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ฯลฯ
  3. ถ้ามีประวัติการแพ้อาหารง่าย   ควรปรึกษาแพทย์เพื่อแพทย์จะได้ทำการ ทดสอบให้ทราบแน่ชัดว่าแพ้อาหารประเภทใดบ้าง  หลีกเลี่ยงการรับประทานชนิดนั้นๆ
  4. ในกรณีที่มีประวัติการแพ้อย่างรุนแรง  ควรแจ้งให้ผู้ใกล้ชิดทราบและทำบัตรประวัติการแพ้อาหารพกติดกระเป๋า เพราะถ้าปรากฏอาการผู้ใกล้ชิดหรือผู้พบเห็นจะได้ให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
  5. ในกรณีที่ผู้แพ้อาหารเป็นเด็กเล็ก พ่อแม่และผู้ปกครองควรให้การดูแล และระมัดระวังเป็นพิเศษ  ทั้งนี้เพื่อให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

 

You May Have Missed

error: Content is protected !!