Notice: คำสั่ง _load_textdomain_just_in_time นั้นถูกเรียก อย่างไม่ถูกต้อง Translation loading for the newsblogger domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม! (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/classifi44/domains/classified4all.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
"สับปะรด" มากวิตามิน ลดเสี่ยงมะเร็ง - มีสาระดี
Loading Now

“สับปะรด” มากวิตามิน ลดเสี่ยงมะเร็ง

สับปะรด

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หนุนช่วยเกษตรกรหลังปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาลตกต่ำ แนะกิน สับปะรด ในปริมาณ 6-8 ชิ้นคำ ต่อวัน สับปะรด อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน ใยอาหารและวิตามินซี ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงมะเร็ง

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย และโฆษกกระทรวง เปิดเผยว่า ขณะนี้ สับปะรดไทย กำลังประสบปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาลตกต่ำส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูก ทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนและดีต่อสุขภาพตนเอง คือการส่งเสริมคนไทยหันมากินผลไม้ให้มากขึ้น

สับปะรด ช่วยเรื่องโรคมะเร็งได้จริงหรือ ?

สับปะรด เป็นผลไม้อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ ใน 1 วันควรกินผลไม้ให้หลากหลาย 3-5 ส่วนต่อวัน สับปะรด มีคุณค่าทางโภชนาการ อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และใยอาหาร ช่วยบำรุงสายตา ต้านการอักเสบ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีวิตามินซีช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก เลือกกินสับปะรดแทนการกินขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน และเครื่องดื่มรสหวาน เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ 2557 พบว่า  คนไทยยังคงกินผลไม้ไม่เพียงพอ พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปกินผลไม้เพียงพอต่อวัน เพียงร้อยละ 30.5 กินผักและผลไม้เพียงพอต่อวัน เพียงร้อยละ 25.9 กลุ่มอายุ 30-59 ปี กินผักและผลไม้เพียงพอร้อยละ 29.0-30.6 จะลดลงในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และลดลงมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป กินผักและผลไม้เพียงพอ ร้อยละ 11 ทั้งๆ ที่ควรกินผลไม้ให้มากขึ้น เพราะทุกวัยต้องการวิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะวัยสูงอายุมีการเสื่อมของเซลล์มากกว่าวัยอื่นๆ และเป็นวัยที่ต้องการวิตามินและแร่ธาตุเพื่อยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นสารทำลายเซลล์และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง อีกทั้งยังต้องการใยอาหารเพื่อช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและกระตุ้นการการขับถ่ายช่วยให้ท้องไม่ผูก การกินสับปะรดจึงดีต่อร่างกาย แต่ที่พิเศษในระยะนี้ ยังดีต่อใจ เพราะได้ร่วมช่วยเหลือเป็นกำลังใจแก่พี่น้องเกษตรกรอีกด้วย

ปริมาณสับปะรดที่ควรทาน

แพทย์หญิงนภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กล่าวว่า สับปะรด 1 ส่วน มี 6-8 ชิ้นคำ ใน 1 วันสามารถกินได้ ปริมาณพอดี 6-8 ชิ้นคำและกินผลไม้อื่นๆเพิ่มให้ได้ครบ 3-5 ส่วนต่อวัน ผลไม้ 1 ส่วนประมาณ 60 กิโลแคลอรี ขึ้นกับความหวานของแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่นใน 1 วัน กินกล้วยน้ำว้า 1 ผล ฝรั่ง ½ ผล มะม่วง ½ ผล มะละกอ 6-8 ชิ้นคำ รวมกับสับปะรด ก็จะครบ 5 ส่วนพอดีหรืออาจกินเป็น กล้วย 2 ผล ฝรั่ง 1 ผล รวมกับสับปะรดก็จะครบ 5 ส่วนพอดี

ทั้งนี้ในการกินผลไม้ให้หลากหลายชนิดขึ้นกับความสะดวกในการจัดหาของผู้บริโภค ในกรณีผู้สูงอายุ กินผลไม้ได้ วันละ 1-3 ส่วนก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น ในแต่ละมื้อควรกินอาหารจานหลักอุดมด้วยผัก และตามด้วยผลไม้ 1-2 ส่วนให้หลากหลาย หากเลือกกินสับปะรดให้ได้คุณค่าทางโภชนาการ ควรกินครั้งละ 6-8 ชิ้นคำ หลังมื้ออาหาร แทนขนมหวานที่ทำจากแป้งและน้ำตาล ซึ่งจะทำให้รับวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระตามที่ต้องการ หากต้องการดื่มน้ำสับปะรด ควรเลือกแบบที่ปั่นรวมกากไปด้วย ไม่ปรุงแต่งกลิ่น รสชาติ

ลดความเสี่ยงเกิด “มะเร็ง” ต้องทำอย่างไร ?

  1. ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะเกิดการสะสมไขมันในผู้หญิงมากๆ ก็อาจเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งเต้านม ส่วนเกิดการสะสมในผู้ชายก็อาจทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  2. ลดการรับประทานอาหารที่เป็นจำพวกของหมักดอง , ปิ้งย่าง ซึ่งอาหารเหล่านี้จะทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร , มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีราขึ้น เนื่องจากในอาหารเหล่านี้จะมีสารอัลฟาทอกซินซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งตับอ่อน
  4. ไม่รับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ อาทิ ปลาจ่อม ก้อยปลา หรืออื่นๆ เพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคพยาธิ , โรคพยาธิใบไม้ตับ ทั้งยังเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับได้อีกด้วย
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งตับ หากดื่มและสูบบุหรี่ด้วย ก็เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งช่องปาก , ช่องคอ , กล่องเสียง และหลอดอาหาร
  6. ลด หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ที่จะทำให้เป็นมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง ส่วนการเคี้ยวยาสูบ ทำให้เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งช่องปากและช่องคอได้
  7. ห้ามตากแดดจัด หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง

You May Have Missed

error: Content is protected !!